On-Grid

หรือระบบการต่อไฟขนานกับสายส่งของการไฟฟ้า อุปกรณ์หลักของระบบนี้ก็คือ Grid-Tie Inverter หรือ Grid-Connected Inverter (GCI) ทำหน้าที่แปลงไฟฟ้ากระแสตรงจากแผง Solar Cell บนหลังคาให้เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ ผู้ใช้ระบบ On-Grid ที่มี GCI ที่ได้มาตรฐานตามประกาศของ กฟภ. หรือ กฟน. จึงสามารถต่อไฟเข้ามายังสายส่งของการไฟฟ้าแต่ละแห่งได้้

ถึงแม้ระบบ Solar Roof จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้เอง แต่เมื่อใดที่ไม่มีไฟฟ้าจากสายส่ง(ไฟดับ)เพื่อให้ GCI ทำงานได้ ระบบจะตัดตัวเอง เพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่การไฟฟ้าผู้ปฏิบัติงานที่ทำงานกับสายส่งทุกคน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ

  • แผงเซลล์แสงอาทิตย์
  • อินเวอร์เตอร์ Grid-Tie Inverter, Grid-Connected Inverter (ที่ผ่านการรับรองจาก กฟภ. หรือ กฟน.)
  • ชุดรางสำหรับติดตั้งแผงบนหลังคาและอุปกรณ์ (ควรจะใช้เป็นวัสดุที่ไม่เกิดสนิม เช่น รางอลูมิเนียม น๊อตสแตนเลส ฯลฯ)
  • สวิทซ์ควบคุมกระแสไฟฟ้า ด้านกระแสตรง และกระแสสลับ
  • อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าตามที่ การไฟฟ้ากำหนด สายไฟฟ้า ฯลฯ

งบประมาณการติดตั้ง  ตั้งแต่ 40 – 50 บาทต่อวัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดการติดตั้ง

การขออนุญาต  การขออนุญาต ต้องขออนุญาตเชื่อมต่อกับระบบสายส่งกับ กฟภ. หรือ กฟน. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด


Off-Grid

หรือระบบ Solar Roof ที่ใช้ภายบ้านทั้งหมด โดยไม่ต้องพึ่งพาการไฟฟ้า นิยมติดตั้งในพื้นที่ที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง หรือติดตั้งเป็นระบบสำรองในบ้านเรือน ที่พัก ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงทั้งจากไฟฟ้าดับและภัยธรรมชาติ

การทำงานของระบบ ในเวลากลางวัน พลังงานที่ผลิตได้จากแผงโซล่าจะถูกส่งไปใช้งานในบ้านตามความต้องการ โดยถ้าหากกำลังการผลิตสูงกว่าการใช้งาน ระบบก็จะแบ่งพลังงานส่วนเหลือไปชาร์จแบตเตอรี่สำรอง เมื่อไม่มีพลังงานจากแผงเซลล์แสงอาทิตย์ Inverter ชนิด Off-Grid จะดึงกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ แปลงเป็นไฟและจ่ายกระแสไฟฟ้ามาใช้งานในบ้าน ซึ่งระยะเวลาใช้งานก็ขึ้นอยู่กับปริมาณแบตเตอรี่และปริมาณไฟฟ้าที่ชาร์จเข้าไปในตอนกลางวัน

อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ

  • แผงเซลล์แสงอาทิตย์
  • อินเวอร์เตอร์
  • อุปกรณ์ประจุแบตเตอร์เตอร์รี่ หรือ ชาร์จเจอร์
  • แบตเตอร์รี่
  • ชุดรางสำหรับติดตั้งแผงบนหลังคาและอุปกรณ์ (ควรจะใช้เป็นวัสดุที่ไม่เกิดสนิม เช่น รางอลูมิเนียม น๊อตสแตนเลส ฯลฯ)
  • สวิทซ์ควบคุมกระแสไฟฟ้า

งบประมาณการติดตั้ง  ขึ้นอยู่กับการออกแบบ และความต้องการของผู้ใช้ระบบ

การขออนุญาต  ไม่ต้องขออนุญาตเชื่อมต่อกับสายส่ง


Hybrid

ระบบที่ใช้ Hybrid Inverter ที่มีความสามารถพิเศษที่จะเลือกแหล่งพลังงานให้เหมาะสมกับการใช้งานได้โดยอัตโนมัติ ทั้งจากระบบสายส่งของการไฟฟ้า (กรณีอยู่ปลายสาย และไฟตกบ่อย ๆ ) แผงเซลล์แสงอาทิตย์ หรือแบตเตอร์รี่ เพื่อให้ผู้ใช้ระบบมีไฟฟ้าใช้ในอาคารได้อย่างสม่ำเสมอ แม้ขณะที่ไฟฟ้าดับ ทำให้ประหยัดพลังงาน สำรองพลังงาน และปรับปรุงประสิทธิภาพของสายส่งไปพร้อม ๆ กัน

ข้อสำคัญ ระบบ Hybrid สามารถขายไฟได้ตามสัญญา เป็นไปตามข้อกำหนดของ กฟผ. หรือ กฟน. เช่นเดียวกับระบบ On-Grid (การเปิดโซลาร์เสรีในอนาคต)

อุปกรณ์ที่ใช้ในการติดตั้งระบบ

  • แผงเซลล์แสงอาทิตย์
  • อินเวอร์เตอร์ Hybrid Inverter (ที่ผ่านการรับรองจาก กฟภ. หรือ กฟน.)
  • แบตเตอร์รี่
  • ชุดรางสำหรับติดตั้งแผงบนหลังคาและอุปกรณ์ (ควรจะใช้เป็นวัสดุที่ไม่เกิดสนิม เช่น รางอลูมิเนียม น๊อตสแตนเลส ฯลฯ)
  • สวิทซ์ควบคุมกระแสไฟฟ้า
  • อุปกรณ์ป้องกันกระแสไฟฟ้าตามที่ การไฟฟ้ากำหนด สายไฟฟ้า ฯลฯ

งบประมาณการติดตั้ง  ตั้งแต่ 70 – 80 บาทต่อวัตต์ ขึ้นอยู่กับขนาดการติดตั้ง

การขออนุญาต  ต้องขออนุญาตเชื่อมต่อกับระบบสายส่งกับ กฟภ. หรือ กฟน. ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด